loader image

มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย
Alternative Energy Institute of Thailand Foundation

อินโดรามา เวนเจอร์ส ร่วมเปิดตัวขวด PET ผลิตจากพาราไซลีนเชิงชีวภาพที่สามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกของโลกสำหรับเครื่องดื่มของซันโทรี่

อินโดรามา เวนเจอร์ส ร่วมเปิดตัวขวด PET ผลิตจากพาราไซลีนเชิงชีวภาพที่สามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกของโลกสำหรับเครื่องดื่มของซันโทรี่

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในฐานะส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านห่วงโซ่อุปทานกับซันโทรี่ (Suntory) เอเนออส คอร์ปอร์เรชั่น (ENEOS Corporation) มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น (Mitsubishi Corporation) อิวาตานิ (Itawani) และเนสเต้ (Neste) เปิดตัวขวด PET ที่ผลิตจากพาราไซลีนเชิงชีวภาพ[1] (bio-paraxylene) ซึ่งผ่านการรับรอง ISCC+ สามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกของโลก[2] ถือเป็นก้าวสำคัญต่อเส้นทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน โดยส่วนหนึ่งในการผลิตขวด PET ดังกล่าวได้นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งขวด PET ที่ผลิตจากเทคโนโลยีนี้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป กลุ่มซันโทรี่จะเริ่มเปิดตัวขวด PET เชิงชีวภาพ (bio-PET) เหล่านี้สำหรับบางผลิตภัณฑ์ในประเทศญี่ปุ่น โดยความร่วมมือนี้จะทำให้มีการเปิดตัวขวด PET ที่ผลิตจากวัสดุนวัตกรรมดังกล่าว[3]สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประมาณ 45 ล้านขวด และจะพิจารณาขยายไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของซันโทรี่เพิ่มเติมในอนาคต

ด้วยการผสานความเชี่ยวชาญและทรัพยากรของผู้นำอุตสาหกรรมในห่วงโซ่คุณค่า ทำให้โครงการนี้สะท้อนพลังของความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนระดับโลก

ยาช โลเฮีย ประธานบริหารโครงการพิเศษด้านปิโตรเคมี และประธานคณะกรรมการด้านการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ความร่วมมือที่น่าตื่นเต้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความรับผิดชอบร่วมกันของพันธมิตรทุกภาคส่วนในการสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น เราภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกับผู้นำอุตสาหกรรมในการพัฒนานวัตกรรมนี้ ที่ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังตอกย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายอีกด้วย และเรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นผลงานของความร่วมมือนี้ปรากฎอยู่บนชั้นวางสินค้าในรูปแบบของผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงของซันโทรี่ในเร็วๆ นี้”

แต่ละพันธมิตรได้นำความสามารถพิเศษเฉพาะตัวมาร่วมในการทำให้โครงการที่ก้าวล้ำนี้ประสบความสำเร็จ ภายใต้ห่วงโซ่อุปทานระดับโลกโดยผ่านความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งเป็นผู้ผลิตและรีไซเคิล PET ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้นำพาราไซลีนเชิงชีวภาพ (bio-paraxylene) มาผลิตกรดเทเรฟทาลิกเชิงชีวภาพ (bio-terephthalic acid) และนำไปทำปฏิกิริยากับโมโนเอทิลีนไกลคอล (MEG) เพื่อผลิตเม็ดพลาสติก PET ในฐานะพันธมิตรในโครงการริเริ่มนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส ยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับอนาคตของบรรจุภัณฑ์ผ่านช่องทางต่างๆ การผลิตเม็ดพลาสติก bio-PET สอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนในระยะยาวของอินโดรามา เวนเจอร์ส และเสริมสร้างความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้าของบริษัทฯ

บทบาทของพันธมิตรในโครงการนี้

มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่นบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด
เนสเต้ผลิต bio-naphtha จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วในโรงงานที่ได้รับการรับรอง ISCC+
มิตซูบิชิ เคมิคอลผลิตวัสดุตัวกลางของ bio-paraxylene โดยใช้ bio-naphtha ในโรงงานที่ได้รับการรับรอง ISCC+
เอเนออส คอร์ปอเรชั่นผลิต bio-paraxylene จากวัสดุตัวกลางในโรงงานที่ได้รับการรับรอง ISCC+ โดยใช้แนวทาง Mass Balance*2
อินโดรามา เวนเจอร์สผลิตเม็ดพลาสติก PET โดยทำปฏิกิริยา MEG กับ PTA (TPA) ที่ผลิตจาก bio-paraxylene ในโรงงานที่ได้รับการรับรอง ISCC+
อิวาตานิ คอร์ปอเรชั่นบริหารการดำเนินงานตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งมอบเม็ดพลาสติก PET
กลุ่มซันโทรี่แปรรูปเม็ดพลาสติก PET ให้เป็นขวด PET สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ

การเปิดตัวครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในการผลิต PET โดยการใช้แนวทางสมดุลมวล (Mass Balance) ที่ใช้ตลอดกระบวนการผลิต ช่วยให้มั่นใจได้ว่าวัสดุชีวภาพผ่านกระบวนการที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการผลิตขวด PET ในฐานะพันธมิตรในโครงการริเริ่ม อินโดรามา เวนเจอร์ส ยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับอนาคตของบรรจุภัณฑ์ผ่านการดำเนินงานด้านต่างๆ โดยการผลิตเม็ดพลาสติก bio-PET สอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนในระยะยาวของอินโดรามา เวนเจอร์ส และเสริมสร้างความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้าของบริษัทฯ

[1] ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2567 อ้างอิงจากการศึกษาโดย เอเนออส คอร์ปอร์เรชั่น และมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น

[2] ใช้แนวทางการประเมินแบบสมดุลมวลสาร โดยภายใต้แนวทางนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผสมวัสดุที่มีคุณสมบัติเฉพาะกับวัสดุที่ไม่มีคุณสมบัตินั้น คุณสมบัติพิเศษนั้นสามารถจัดสรรให้กับบางส่วนของผลผลิตได้ตามสัดส่วนของวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งใช้ในกระบวนการผลิต แนวทางการประเมินแบบสมดุลมวลสารนี้ได้รับการรับรอง ISCC+

[3]   ขวด PET ขนาด 280 มิลลิลิตร และ 285 มิลลิลิตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ไม่มีความเห็นที่จะแสดง

ADIPEC 2024 bio-paraxylene BTMT CKP CKPower ENEOS Corporation HONGHUA GROUP IC&C Day 2024 Itawani Mitsubishi Corporation Neste PEA PET SCBX NEXT TECH Suntory Thailand Digital Outlook กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน กรีน เยลโล่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์5 ซันโทรี่ บริดจสโตน ไทร์ พลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น วารสาร สดช. สภากาชาดไทย ห้องเรียนสีเขียว อินโดรามา เวนเจอร์ส อิวาตานิ ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ เชลล์ เชลล์แห่งประเทศไทย เนสท์เล่ (ไทย) เนสท์เล่ อินโดไชน่า เนสเต้ เอเนออส โซลาร์เซลล์