loader image

มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย
Alternative Energy Institute of Thailand Foundation

ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ ยกระดับผลิตภัณฑ์ SAM600 รองรับสถานีไฟฟ้าย่อยดิจิทัล

ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ ผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีไฟฟ้าย่อยดิจิทัล ได้พัฒนา SAM600 3.0 ซึ่งเป็นหน่วยอินเตอร์เฟซ (PIU) เพื่อช่วยเชื่อมต่อระบบสายส่งจ่ายไฟฟ้า สำหรับสถานีไฟฟ้าย่อยดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

SAM600 รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ได้รวมอุปกรณ์ 3 ยูนิตเข้าด้วยกันเป็นโมดูลาร์แบบกล่องเดียว ที่สามารถปรับแต่งรูปแบบการทำงานให้เป็น merging unit, switchgear control unit หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เพื่อรองรับวิธีการติดตั้งที่หลากหลาย ด้วยการผสานอุปกรณ์เป็นเครื่องเดียวทำให้การออกแบบ การติดตั้ง การทดสอบและการบำรุงรักษา สามารถทำได้อย่างคล่องตัว ทั้งยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( carbon footprint) ในการปฏิบัติงานด้วย

SAM600 เมื่อทำหน้าที่เป็น merging unit จะช่วยเร่งการพัฒนาระบบการทำงานจากสถานีไฟฟ้าย่อยแบบธรรมดาเป็นสถานีไฟฟ้าย่อยแบบดิจิทัล โดย SAM600 จะช่วยแปลงค่ากระแสและแรงดันไฟฟ้าจากสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัล พร้อมทั้งส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงห้องควบคุม ซึ่งสถานีไฟฟ้าย่อยดิจิทัลนี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ช่วยลดต้นทุนในการสร้าง ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon footprint) เพิ่มเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการทำงานทั้งยังช่วยทำให้เกิดความยั่งยืนโดยรวม SAM600 เมื่อทำหน้าที่เป็น switchgear control unit อุปกรณ์นี้จะช่วยเชื่อมต่อไปยังเซอร์กิตเบรกเกอร์ ใบมีด และใบมีดกราวด์ในลานไกไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดปริมาณสายไฟฟ้าจากลานไกไฟฟ้าไปยังห้องควบคุมโดยใช้ระบบสื่อสารที่มีมาตรฐาน IEC 61850

“ด้วยความซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบไฟฟ้าในส่วนของระบบผลิต ระบบสายส่ง และระบบจำหน่ายไฟฟ้าของสถานี สถานีไฟฟ้าดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยตอบโจทย์ความท้าทายนี้  ซึ่งผลิตภัณฑ์ SAM600 รุ่นใหม่ล่าสุดจะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในสถานีรูปแบบเดิม ยืดอายุของสินทรัพย์ที่มีอยู่ ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของระบบป้องกันในสถานีไฟฟ้า  ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของสถานีไฟฟ้าย่อยให้สูงขึ้น” คุณ Claus Vetter, Head of Automation and Communication ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ กล่าว

ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ กำลังพัฒนาระบบพลังงานของโลก ให้มีความยั่งยืน ยืดหยุ่น และปลอดภัยมากขึ้น “การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีขนาดกะทัดรัด สามารถตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการโซลูชันการทำงานที่น่าเชื่อถือภายใต้สภาพการทำงานที่มีความเสี่ยง  และด้วยขนาดกะทัดรัดทำให้ผู้ใช้งานสามารถซ่อมบำรุงที่หน้างานได้ ลดระยะเวลาในการหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าและลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้เหลือน้อยที่สุด” Vetter กล่าว  

คุณสมบัติใหม่ของ SAM600 3.0 ประกอบด้วย:

–      นวัตกรรมล้ำสมัยที่รองรับด้วยมาตรฐานอุตสาหกรรมล่าสุด IEC 61850 Ed 2.1 และ IEC 61869

–      ขนาดกะทัดรัดเหมาะสำหรับการติดตั้งทั้งภายในและภายนอก

–      อุปกรณ์ที่ตอบสนองความต้องการของแอปพลิเคชันที่หลากหลาย และแตกต่างกันได้

–      ระบบตรวจสอบการทำงานของชุดตัดต่อเซอร์กิตเบรกเกอร์โดยตรง  ระบบวัดค่ากระแสแรงดันที่แม่นยำ

–      รองรับ IEC 61869

–      ระบบบันทึกสิ่งรบกวนที่มีความถี่ในการตรวจจับ 4.8 kHz

–      ระบบการรักษาความปลอดภัยระดับสูงในการเข้าสู่ระบบการทำงาน  

–      ระบบติดต่อผู้ใช้บนเบราว์เซอร์ (WebUI) และการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์

–      ระบบการกำหนดค่า การทำงาน การบำรุงรักษาที่มีเสถียรภาพ ง่ายต่อการเรียนรู้และการปรับใช้กับเครื่องมือ PCM600 

ในขณะที่เทคโนโลยีสถานีไฟฟ้าย่อยดิจิทัลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง SAM600 มีบทบาทสำคัญในการช่วยเร่งการดำเนินงานเพื่อช่วยให้ระบบสาธารณูปโภคสามารถรับมือกับความท้าทายของโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคตได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยทำหน้าที่เป็นตัวหลักพื้นฐานในการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า พร้อมกับการบูรณาการพลังงานทดแทนให้มีปริมาณมากขึ้นสำหรับระบบพลังงานที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ไม่มีความเห็นที่จะแสดง

ADIPEC 2024 bio-paraxylene BTMT CKP CKPower ENEOS Corporation HONGHUA GROUP IC&C Day 2024 Itawani Mitsubishi Corporation Neste PEA PET SCBX NEXT TECH Suntory Thailand Digital Outlook กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน กรีน เยลโล่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์5 ซันโทรี่ บริดจสโตน ไทร์ พลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น วารสาร สดช. สภากาชาดไทย ห้องเรียนสีเขียว อินโดรามา เวนเจอร์ส อิวาตานิ ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ เชลล์ เชลล์แห่งประเทศไทย เนสท์เล่ (ไทย) เนสท์เล่ อินโดไชน่า เนสเต้ เอเนออส โซลาร์เซลล์