ขณะที่เลบานอนกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าอย่างรุนแรง ส่งผลให้เครื่องปั่นไฟฟ้าส่วนตัวกลายเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปตามท้องถนนของประเทศนี้มานับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 โดยโรงพยาบาลที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของเลบานอนอย่างโรงพยาบาลอัลซาฮารา (AL Zaharaa) เป็นโรงพยาบาลครบวงจรที่มีทั้งการรักษาพยาบาล การศึกษาทางการแพทย์ และการวิจัยทางการแพทย์ โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ทางการแพทย์ตลอดจนระบบทำความร้อนและเครื่องปรับอากาศของโรงพยาบาลอัลซาฮาราจะใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก แต่การขาดแหล่งพลังงาน ซึ่งมักส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลแห่งนี้
ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โรงพยาบาลอัลซาฮาราที่ประสบปัญหา “ขาดแคลนไฟฟ้า” ได้รับการช่วยเหลือจากลอนจี (LONGi) โดยได้รับบริจาคเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงราว 20 กิโลวัตต์ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านพลังงานในโรงพยาบาลอัลซาฮารา พร้อมปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของคนในโรงพยาบาล ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นี้มอบการสนับสนุนที่เชื่อถือได้เพื่อให้การดำเนินงานของโรงพยาบาลราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ความสำเร็จของโครงการนี้ถือเป็นแบบอย่างที่ดีและนำมาซึ่งโอกาสมากมาย การจัดหาพลังงานที่สะอาด คาร์บอนต่ำ และยั่งยืนกลายเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการจัดการกับความท้าทายด้านไฟฟ้าในท้องถิ่น ความสำคัญของโซลูชันพลังงานสะอาดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการปรับปรุงชีวิตประจำวันจะดึงดูดความสนใจจากสาธารณะมากขึ้นเรื่อย ๆ
ลอนจีซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านเซลล์แสงอาทิตย์ระดับโลก ยังให้การช่วยเหลือพื้นที่อื่นๆ ให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้เช่นกัน ไม่ใช่เพียงแค่โรงพยาบาลอัลซาฮารา
“ลอนจีให้ความสำคัญกับการพัฒนาประชากรในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้หรือขาดแคลนไฟฟ้าทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าจะยกระดับมาตรฐานการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ขาดแหล่งไฟฟ้า ส่งเสริมการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น และส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในภูมิภาคผ่านการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม” คุณเดนนิส เชอ (Dennis She) รองประธานของลอนจี กล่าวระหว่างการประชุมดับบลิวทีโอ พับลิก ฟอรัม (WTO Public Forum) ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นเวทีที่รวมเหล่าผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเป็นการหารือเกี่ยวกับวิธีที่ “การค้าและองค์การการค้าโลกจะสามารถช่วยสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น” โดยลอนจีได้เรียกร้องให้มีการ “ส่งเสริม ‘ความเท่าเทียมด้านพลังงาน’ ระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานใหม่จากเซลล์แสงอาทิตย์” ที่ตอบสนองชีวิตผู้คนได้ทุกระดับ
ประชากรโลกราว 11 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้า และราว 1/3 ของประชากรทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร ความยากจนด้านพลังงานเป็นอุปสรรคโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รายงานที่เผยแพร่ร่วมกันโดยสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ ฝ่ายสถิติแห่งสหประชาชาติ ธนาคารโลก และองค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่า ผู้คนกว่า 1.9 พันล้านคนทั่วโลกจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบอาหารที่สะอาด และกว่า 660 ล้านคนทั่วโลกจะไม่มีไฟฟ้าใช้ในปี 2573 หากไม่มีการดำเนินการเพิ่มเติมใด ๆ ในปัจจุบัน
ความแตกต่างเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ด้อยพัฒนาและเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คุณเดนนิสเชื่อว่า การจัดหาพลังงานสะอาดด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เป็นหลักจะกลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการส่งเสริมการพัฒนาที่สอดคล้องกันทั่วโลก ความเสมอภาคด้านพลังงานขึ้นอยู่กับการให้บริการพลังงานที่สะอาด ราคาเอื้อมถึง และไม่เลือกปฏิบัติ ขณะที่พลังงานแสงอาทิตย์มีอยู่ทั่วโลกและเข้าถึงได้ง่ายกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิม และเอื้อต่อประเทศด้อยพัฒนามากกว่า การพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องจะทำให้ต้นทุนของพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาพลังงานทดแทนในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์จึงสามารถเพิ่มอิสระด้านพลังงาน ส่งเสริมความสอดคล้องกันในระดับโลก และลดผลกระทบมากมายที่เกิดจากวิกฤตพลังงาน
ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ชั้นนำของโลก ลอนจีมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการจัดหาโซลูชันพลังงานใหม่จากเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนแก่ประชากรที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ลอนจีได้บริจาคโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงขนาด 301 กิโลวัตต์ ให้กับพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในประเทศแอฟริกา ด้วยความช่วยเหลือจากมูลนิธิโซพาวเวอร์ฟูล (Sopowerful Foundation) ผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์เหล่านี้ได้ถูกส่งไปยังจุดหมายปลายทาง 12 แห่งในแอฟริกา ครอบคลุมโรงพยาบาล คลินิกผู้ป่วยนอก โรงเรียน และหมู่บ้านต่าง ๆ นำไปสู่การสร้างระบบชลประทานในพื้นที่เกษตรกรรมและกระตุ้นการใช้ไฟฟ้า รวมถึงส่งมอบแสงสว่างให้กับภาคส่วนและอุตสาหกรรมต่าง ๆ การใช้งานเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยไฟฟ้านอกระบบ ซึ่งสามารถยกระดับการรักษาพยาบาล การศึกษา และมาตรฐานการใช้ชีวิตของผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตั้งแต่บูร์กินาฟาโซในแอฟริกาไปจนถึงปากีสถานในเอเชียใต้และเลบานอนในตะวันออกกลาง ลอนจีมุ่งมั่นที่จะรวบรวมความสามารถทั้งหมด เพื่อนำเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์มาช่วยลดจำนวนผู้ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ นำความรักและแสงสว่างมาสู่พื้นที่ที่ยากจนและขาดแคลนพลังงาน
แสงสว่างนำความก้าวหน้าและอารยธรรมมาสู่มนุษยชาติ ลอนจีจึงอาศัยการปฏิวัติพลังงานครั้งที่ 4 เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความเท่าเทียมกันด้านพลังงานทั่วโลก ผ่านการใช้เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ แสงแดดทั่วโลกจะนำความสุขและความอบอุ่นมาสู่ผู้คนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้มากขึ้น สร้างระบบพลังงานสะอาดที่เท่าเทียมมากขึ้นแก่มนุษยชาติ นำเสนอความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในสภาวะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คาร์บอนต่ำ และมีพลังงานใช้อย่างอุดมสมบูรณ์
ใส่ความเห็น