loader image

มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย
Alternative Energy Institute of Thailand Foundation

ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ เผยโมดูลไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงกว่า 5.13% เมื่อเทียบกับโมดูล PERC

ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ เผยโมดูลไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงกว่า 5.13% เมื่อเทียบกับโมดูล PERC

ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทจีนจำนวนมากได้มีการเปิดตัวโครงการพลังงานสีเขียวทั่วโลก และการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ได้กลายเป็นกลไกหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตเชิงลึกของอุตสาหกรรม เนื่องจากปล่อยคาร์บอนลดลงและมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) ต่ำลง ด้วยเหตุนี้ โมดูลไฮเปอร์ไอออน (Hyper-ion) แบบเฮเทอโรจังก์ชัน (HJT) ของบริษัท ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ (Risen Energy) จึงยึดมั่นในแนวทาง “กลไกคู่” (dual-drive) ซึ่งประกอบด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนและลด LCOE โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์และลด LCOE พร้อมกับผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้นด้วยโมดูลคุณภาพสูงที่ผลิตในจีน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั่วโลก

Figure 2: Power Generation Data from the CPVT Hainan Test Facility

โมดูล HJT มีจุดเด่นคือกำลังการผลิตไฟฟ้าสูง โดยไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ได้เปรียบเทียบกำลังการผลิตไฟฟ้าของโมดูลไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT กับโมดูล PERC และโมดูล TOPCon ด้วยการจำลองสถานการณ์ในกว่า 20 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลกที่มีสภาพภูมิอากาศหลากหลายแบบ ดังแสดงในรูปที่ 1 ซึ่งผลการจำลองสถานการณ์บ่งชี้ว่า โมดูล HJT ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับโมดูล TOPCon และ PERC ในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก

นอกเหนือจากการจำลองสถานการณ์แล้ว เพื่อสำรวจประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของโมดูลไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT ในโลกแห่งความเป็นจริง ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ได้ร่วมมือกับองค์กรและลูกค้าหลายรายเพื่อทำการทดสอบการผลิตไฟฟ้าเชิงประจักษ์ในหลายภูมิภาคทั่วโลก

รูปที่ 2 แสดงข้อมูลจากการทดสอบผลิตไฟฟ้าในมณฑลไห่หนาน ซึ่งไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ดำเนินการร่วมกับศูนย์ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์แห่งชาติของจีน (CPVT) ซึ่งผลปรากฏว่า แม้ว่าเพิ่งมีการเชื่อมกับโครงข่ายไฟฟ้าไปเพียงสองเดือน แต่จากการคำนวณโดยอ้างอิงข้อมูลการผลิตไฟฟ้าที่รวบรวมไว้ก็บ่งชี้ว่า โมดูลไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT มีกำลังการผลิตไฟฟ้าต่อวัตต์สูงกว่า 5.13% เมื่อเทียบกับโมดูล PERC ซึ่งผลลัพธ์นี้สอดคล้องกับผลจากการจำลองสถานการณ์ในรูปที่ 1 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโมดูล HJT ผลิตไฟฟ้าในมณฑลไห่หนานได้มากกว่า 5.51% เมื่อเทียบกับโมดูล PERC ซึ่งหมายความว่าการจำลองสถานการณ์การผลิตไฟฟ้าของเรามีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง

การทดสอบเชิงประจักษ์ยังคงดำเนินต่อไป และทีมเทคนิคของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ จะรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานที่ทดสอบภาคสนามแห่งนี้และที่อื่น ๆ ต่อไป เราเชื่อว่าการอัปเดตและเผยแพร่ข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างต่อเนื่องนั้น จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าอันโดดเด่นของโมดูลไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT ของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ได้รับการยืนยันเพิ่มเติม เพื่อเป็นตัวเลือกและการรับประกันที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าของเรา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ไม่มีความเห็นที่จะแสดง

ADIPEC 2024 bio-paraxylene BTMT CKP CKPower ENEOS Corporation HONGHUA GROUP IC&C Day 2024 Itawani Mitsubishi Corporation Neste PEA PET SCBX NEXT TECH Suntory Thailand Digital Outlook กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน กรีน เยลโล่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์5 ซันโทรี่ บริดจสโตน ไทร์ พลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น วารสาร สดช. สภากาชาดไทย ห้องเรียนสีเขียว อินโดรามา เวนเจอร์ส อิวาตานิ ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ เชลล์ เชลล์แห่งประเทศไทย เนสท์เล่ (ไทย) เนสท์เล่ อินโดไชน่า เนสเต้ เอเนออส โซลาร์เซลล์