loader image

มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย
Alternative Energy Institute of Thailand Foundation

ถอดแนวคิดคนรุ่นใหม่ของ “บ้านปู เพาเวอร์”ฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าคุณภาพให้เติบโตถึงเป้าหมาย

ถอดแนวคิดคนรุ่นใหม่ของ “บ้านปู เพาเวอร์”ฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าคุณภาพให้เติบโตถึงเป้าหมาย

Greener & Smarter โดยเฉพาะในพอร์ตธุรกิจพลังงานหมุนเวียน นิธินรรถ เอกะพันธุ Manager กำลังสำคัญของทีม Business Development ด้านEnergy Generation and Trading ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการแสวงหาโอกาสด้านธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในประเทศเวียดนามและออสเตรเลีย เล่าให้ฟังถึงการมองเห็นโอกาสในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจในการลงทุนของ BPP ในโครงการใหม่ ๆ “หน้าที่ของเราคือการแสวงหา พิจารณาความเป็นไปได้ และดำเนินการเข้าซื้อโครงการที่มีศักยภาพที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ Greener & Smarter ของ BPP  สำหรับประเทศเวียดนาม ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่การผลิตไฟฟ้ากลับยังไม่เพียงพอ ประกอบกับภูมิศาสตร์ของเวียดนามที่มีพื้นที่กว้างขวาง และมีแสงอาทิตย์ที่เอื้ออำนวย อีกทั้งภาครัฐยังสนับสนุนเรื่องพลังงานหมุนเวียน นี่จึงเป็นโอกาสของ BPP ในการเข้าไปทำธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์”

สำหรับประเทศออสเตรเลีย นิธินรรถเล่าว่า ออสเตรเลียก็ขึ้นชื่อเรื่องพื้นที่กว้างใหญ่ไม่แพ้กับเวียดนาม และมีศักยภาพด้านทรัพยากรแสงแดดและลม รัฐบาลท้องถิ่นก็มีการตั้งเป้าหมายและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจัง อีกทั้งผู้บริโภคก็มีความพร้อมในการเลือกซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนในตลาดไฟฟ้าเสรี (Merchant Power Market) จึงเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสำหรับการลงทุนของ BPP “ในปี 2564 เราได้เข้าซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เบอริล (Beryl) และมานิลดรา (Manildra) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย นับเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของบริษัทฯ” นิธินรรถกล่าว และเสริมว่า “งานของผมมีความท้าทายมากแต่ก็รู้สึกสนุกที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา และได้สร้างผลงานที่มีคุณค่าให้กับองค์กร หากเปรียบเป็นร่างกาย งานของผมคงเป็นดวงตาและหูที่ต้องคอยเปิดรับเทรนด์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงค้นหาโอกาสทางธุรกิจที่เหมาะสม ที่จะช่วยให้ BPP เติบโตได้ตามเป้าหมาย”

เมื่อโรงไฟฟ้าดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีด้านพลังงานก้าวไปอย่างไม่หยุดนิ่ง พร้อม ๆ กับการแสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ อยู่เสมอ BPP ก็พร้อมแล้วที่จะสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่ง  แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าจุดหมายของ BPP ไม่ใช่แค่การเติบโตทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการส่งมอบพลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืนขึ้น ทุกกระบวนการในการดำเนินธุรกิจของ BPP จึงต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environment, Social, Governance) หรือหลัก ESG เป็นสำคัญ ศนิชา ภิญโญชีพ Manager – Health, Safety, Environment and Community Engagement ผู้สอดส่องดูแลการดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับหลัก ESG เล่าว่างานของเธอมีส่วนช่วยผลักดันให้ทุกหน่วยงานในองค์กรนำหลัก ESG มาใช้ในดำเนินงาน ตั้งแต่การวางนโนบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ESG การติดตามผลการดำเนินงาน การจัดทำรายงาน การแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กร และการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ

“หากเปรียบเทียบหลัก ESG เป็นร่างกาย ก็คงเปรียบ G เสมือนเป็นกระดูก เป็นโครงสร้างขององค์กร ขณะที่ E และ S เป็นเลือดเนื้อ เป็นสิ่งที่เราต้องบำรุงรักษาให้ดีอยู่เสมอเพื่อให้ภาพรวมเป็นไปตามความคาดหวังของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน” ศนิชากล่าว และเล่าว่า สำหรับด้าน E: Environment งานของเธอช่วยผลักดันการตั้งเป้าหมายของแต่ละโรงไฟฟ้าในการลดมลสารต่าง ๆ รวมถึงการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น นโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ นโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำ ในด้าน S: Social เธอช่วยผลักดันให้เกิดนโยบายการดูแลความปลอดภัยของพนักงาน การพัฒนาศักยภาพ และการส่งเสริมให้มีมาตรฐานการทำงานที่ดี รวมถึงการสื่อสารกับชุมชนที่อยู่รอบ ๆ ให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน จนถึงการยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพให้กับชุมชน และด้าน G: Governance เธอจะช่วยสอดส่องว่าแต่ละหน่วยงานมีการดำเนินการด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีแล้วหรือไม่ และนำเสนอข้อมูลกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ และความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ กล่าวสรุปว่า “การขับเคลื่อนการผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพของ BPP เกิดจากการทำงานอย่างทุ่มเทของพนักงานในทุกส่วน ตั้งแต่การดำเนินงานของโรงไฟฟ้า การพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีพลังงาน การแสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ตลอดจนการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ผมเชื่อว่าเป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้า 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 ภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter เป็นความท้าทายที่ทีมงานของ BPP มีพลังในการขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ เพราะรู้ว่าจุดหมายของเราไม่ใช่แค่การเติบโตทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพให้กับผู้คน และสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ไม่มีความเห็นที่จะแสดง

ADIPEC 2024 bio-paraxylene BTMT CKP CKPower ENEOS Corporation HONGHUA GROUP IC&C Day 2024 Itawani Mitsubishi Corporation Neste PEA PET SCBX NEXT TECH Suntory Thailand Digital Outlook กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน กรีน เยลโล่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์5 ซันโทรี่ บริดจสโตน ไทร์ พลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น วารสาร สดช. สภากาชาดไทย ห้องเรียนสีเขียว อินโดรามา เวนเจอร์ส อิวาตานิ ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ เชลล์ เชลล์แห่งประเทศไทย เนสท์เล่ (ไทย) เนสท์เล่ อินโดไชน่า เนสเต้ เอเนออส โซลาร์เซลล์