PEA ขับเคลื่อนองค์กรสู่การไฟฟ้าแห่งอนาคต

0
2090

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่การไฟฟ้าแห่งอนาคต ในปี 2560 มุ่งเน้น “พัฒนาคนด้วยนวัตกรรม พัฒนางานด้วยเทคโนโลยี”

จากที่รัฐบาลได้ริเริ่มการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และกำหนดนโยบาย Thailand 4.0 ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” จึงทำให้หน่วยงานต่างๆได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับรัฐบาล ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA ได้กำหนดนโยบาย PEA 4.0 เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของภาครัฐดังกล่าวเช่นกัน

20170116pr011

ในปี 2560 นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA ยังคงมุ่งพัฒนาองค์กรตามแนวนโยบาย 4S 12Strategies ซึ่งในปีที่ผ่านมาผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทำให้สามารถคว้ารางวัลมากมายหลายรายการ ดังนั้น แนวทางนโยบายของ ปี 2560 จะได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบาย Thailand 4.0 และนโยบายของหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กร โดยนโยบาย PEA 4.0 จะมุ่งเน้น “พัฒนาคนด้วยนวัตกรรม พัฒนางานด้วยเทคโนโลยี” โดยมี 7 ด้านรองรับ PEA 4.0 มีดังนี้

1. Human Capital ในยุคแรก (HR 1.0) มุ่งเน้นงานด้านบุคคลโดยทั่วไปหรือ Personal ยุคที่ 2 (HR 2.0) งานด้านทรัพยากรมนุษย์ เริ่มพัฒนาสู่การเป็นคู่คิดเชิงยุทธศาสตร์หรือ Strategic Partner ยุคที่ 3 (HR 3.0) เริ่มมีการนำสมรรถนะมาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ HR Competency และสำหรับยุคที่ 4 (HR 4.0) จะมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีความพร้อมในยุคดิจิทัล

20170116pr012

2. Service ในช่วงเริ่มต้นการให้บริการเป็นแบบระบบราชการสมัยเก่า (Bureaucracy) จากนั้นจึงเริ่มมีการให้บริการที่คำนึงถึงความต้องการของลูกค้า (Customer Centric) มากขึ้น และสิ่ง มุ่งหวังสำหรับนโยบาย 4.0 คือ การเป็นเลิศในงานบริการ ด้วยการให้บริการที่เกินความคาดหวังของลูกค้า (Service Excellence : Beyond Customer Expectation)

3. Grid ในช่วงเริ่มต้นการพัฒนาระบบไฟฟ้าเป็นแบบระบบ Radial ต่อมาจึงพัฒนาเพิ่มความมั่นคงของระบบเป็น Strong Grid และการพัฒนาช่วงต่อไป คือ การพัฒนาปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้ทันสมัย (Grid Modernization) รองรับ Smart Grid

4. Asset Management จากที่การดูแลสินทรัพย์ด้วยการใช้ระบบการบำรุงรักษา (Maintenance Management System : MMS) จะมุ่งเน้นการจัดการสินทรัพย์ทั้งองค์กร (Enterprise Asset Management : EAM) ที่จะครอบคลุมทั้งวัฎจักรของสินทรัพย์ที่เริ่มตั้งแต่การจัดหาได้มา การบำรุงรักษา จวบจนเมื่อสิ้นอายุการใช้งานจึงนำออกจากระบบ

20170116pr01
5. Innovation จุดเริ่มต้นของงานวิจัยในอดีตเริ่มจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (Problem Solving) แล้วจึงมีกระบวนการวิจัยและพัฒนาสร้างนวัตกรรมขึ้นมา ความคาดหวังสำหรับ สำหรับนโยบาย 4.0 คือการพัฒนาองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรม (Innovation) จนนำไปสู่การขยายผลสร้างเครื่องมือหรืออุปกรณ์เชิงพาณิชย์ (PEA Brand) เพื่อนำมาใช้งานภายในองค์กรอย่างแพร่หลายทั่วทั้งองค์กร ทดแทนหรือลดการจัดหาจากภายนอก ลดค่าใช้จ่ายในการจัดหา ยกระดับมาตรฐานของอุปกรณ์ให้มีอายุการใช้งานนาน ลดการบำรุงรักษา และเพิ่มอำนาจการต่อรองในการจัดหาจากผู้ผลิต

6. ICT เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ในยุค Web 2.0 เน้นการสร้างฐานข้อมูล (Database) ต่อมาจึงเข้าสู่ยุค ICT 3.0 ที่มุ่งเน้นการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) และสำหรับ ICT 4.0 เป็นยุคที่นำระบบ ICT มารองรับการพัฒนาระบบ Smart Grid และการจัดการภายในองค์กรที่รองรับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things : IoT) ระบบ Cloud และการจัดการ Big Data โดยนำระบบ ICT มาใช้รองรับงานในอนาคตทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ

7. Business Investment โดยทั่วไปจุดเริ่มต้นของการให้บริการทางวิศวกรรมเริ่มจาก O & M (Operations and Maintenance) ซึ่งไม่ต้องพึ่งองค์ความรู้ที่ซับซ้อนมากนัก จากนั้นเมื่อบุคลากรมีความพร้อมและมีศักยภาพสูงขึ้นจึงมีความสามารถดำเนินการออกแบบด้านวิศวกรรมและก่อสร้างเองได้ในรูปแบบของ EPC (Engineering Procurement and Construction) และสุดท้ายจึงมีการลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของโครงการหรือหุ้นส่วนโครงการ โดยบริษัท PEA ENCON International จำกัด จะเป็นผู้ดำเนินการในการลงทุนดังกล่าว

20170116pr014
สำหรับการทำธุรกิจการให้บริการ จากในอดีตมุ่งการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้า ปัจจุบันมีการให้บริการธุรกิจเสริมเพิ่มเติมอย่างไรก็ดีในยุคที่จะต้องสร้างธุรกิจใหม่รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruptive Technology) เช่น EV (Electric Vehicle), Solar Rooftop, Smart Meter, smart Home เป็นต้น รวมถึงการให้บริการในระดับสากล นอกจากตลาดในกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน