Alibaba.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ B2B ระดับโลก และ AliResearch Institute หน่วยงานวิจัยของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้ร่วมเผยแพร่รายงาน “อุปสรรค การรับมือ และการเปลี่ยนแปลงของ MSMEs ในยุคหลังโควิด-19” ซึ่งรายงานฉบับนี้ได้ศึกษาวิธีที่ วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs) ใช้ปรับตัวในช่วงโควิด-19 ผ่านแง่มุมหลากหลายมุมมอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงการดำเนินงานของธุรกิจต่าง ๆ ในการปรับตัวให้อยู่รอดกับวิกฤตโรคระบาด โดยภายในรายงานได้เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้:
- MSMEs มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก ธุรกิจ 90% ทั่วโลกมีส่วนทำให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 70% และสร้าง GDP ถึง 50-60%
- MSMEs ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 โดยธุรกิจรายย่อยต้องเผชิญกับภาวะขาดทุนอย่างหนัก โดย 70% ของ MSMEs ทั่วโลกมียอดขายลดลง ซึ่ง 2 ใน 3 ของธุรกิจดังกล่าวมียอดขายลดลงไป 40%
- ธุรกิจออฟไลน์ของ MSMEs ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการที่ผู้คนออกไปซื้อของน้อยลง ในขณะที่ยอดขายออนไลน์กลับพุ่งสูงขึ้น การ Digitalization จึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับ MSMEs ในการลดความเสี่ยงทางธุรกิจ: อัตราของจำนวน MSMEs ที่ธุรกิจยังสามารถไปต่อสูงกว่า 7% ในภูมิภาคที่มีการเจาะตลาดอีคอมเมิร์ซสูงสุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคที่มีการเจาะตลาดอีคอมเมิร์ซต่ำที่สุด
นอกจากนี้ จากรายงานดังกล่าวยังพบว่า ในบรรดาธุรกิจทั้งหมด การระบาดใหญ่ส่งผลกระทบกับธุรกิจขนาดเล็กมากที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่พอจะคาดเดาได้ เนื่องจากธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากไม่มีทรัพยากรหรือโครงสร้างพื้นฐานที่จะสามารถรับมือกับการล็อกดาวน์หลาย ๆ ครั้ง รวมไปถึงข้อจำกัดในแต่ละพื้นที่ การขาดแคลนทรัพยากร และปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากโควิด-19 โดยมีเพียง 23.5% ของ MSMEs ที่รอดท่ามกลางวิกฤตในครั้งนี้ และไม่ได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ลดลง ทั้งนี้ MSMEs มากกว่า 60% มียอดทางธุรกิจลดลง 40%
ธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นธุรกิจประเภท MSMEs ถึง 97% และพนักงานภายใต้ธุรกิจเหล่านี้มีจำนวนถึง 67% ต่อจำนวนประชากรวัยทำงาน[1] นอกจากนี้ การล็อกดาวน์ในบางประเทศอาจทำให้ธุรกิจหยุดชะงักได้ โดย MSMEs จากอินโดนีเซีย จำนวน 49% ไทย 52% และฟิลิปปินส์ 61% คาดว่าธุรกิจของตัวเองจะต้องปิดตัวลง ซึ่ง 90% ของ MSMEs ในประเทศไทยคาดว่าจะสูญเสียรายได้มหาศาล
“เราต้องตระหนักว่า MSMEs ไม่ได้เป็นเพียงผู้เล่นทางเศรษฐกิจที่สำคัญเท่านั้น แต่สภาพคล่องและการเติบโตของธุรกิจเหล่านี้ยังมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างแท้จริงและยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้เผยแพร่รายงานนี้เพื่อช่วยดึงให้ MSMEs กลับมาเป็นผู้เล่นที่สำคัญในสายตาโลกอีกครั้ง และช่วยให้เกิดการอภิปรายในวงกว้างและเป็นประโยชน์มากขึ้นในการสนับสนุน MSMEs อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นอีกด้วย” เกา หงปิน รองประธานของ อาลีบาบา กรุ๊ปและประธานของ AliResearch Institute กล่าว
การเข้าสู่โลกดิจิทัลนั้น ถือว่าช่วยต่อชีวิต MSMEs จำนวนมากในช่วงที่โควิด-19ระบาด และยังช่วยบริษัทลดต้นทุน และช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการทำงาน และช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ขยับขยายไปสู่ตลาดใหม่ได้ โดยกว่า 40% ของ MSMEs ไทยที่ทำแบบสำรวจกล่าวว่า แพลตฟอร์มอย่าง Alibaba.com ช่วยเสนอวิธีต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน นอกจากนี้ กว่า 30% ของธุรกิจเหล่านี้ยังต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือสถาบันต่าง ๆ ให้ช่วยออกมาตรการใหม่กระตุ้นการส่งออกอีกด้วย
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ที่ผลการวิจัยจะชี้ให้เห็นว่า อัตราของ MSMEs ที่รอดจากวิกฤตโควิดในภูมิภาคที่มีการเจาะตลาดอีคอมเมิร์ซสูงที่สุดนั้นจะมีจำนวนมากกว่าภูมิภาคที่มีการเจาะตลาดอีคอมเมิร์ซต่ำที่สุดถึง 7% นอกจากนี้ ในภูมิภาคที่มีอัตราการเจาะตลาดอีคอมเมิร์ซสูงขึ้น จะมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรงน้อยกว่า
แอนดรูว์ เจิ้ง รองประธานของ Alibaba.com กล่าวว่า “การระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนแนวทางการค้าของโลกไปตลอดกาล จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจต่าง ๆ และประชากรโลกต้องลำบากเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าประทับใจคือการที่ MSMEs ลุกขึ้นมาหาวิธีการที่สร้างสรรค์และชาญฉลาดในการเอาชนะอุปสรรคหลากหลายรูปแบบที่เกิดจากโรคระบาดในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าอีคอมเมิร์ซจะทำหน้าที่เป็นกลไกในการประคองธุรกิจให้รอดในช่วงที่โควิด-19ระบาด แต่ในอนาคตข้างหน้า อีคอมเมิร์ซก็จะยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการค้าโลก ไม่เพียงเท่านี้ การขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย การไลฟ์สด งานแสดงสินค้าเสมือนจริง และระบบ RFQ (Request for Quotation) จะช่วยให้ผู้ขายเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและเชื่อมต่อกับลูกค้าที่ต้องการได้ง่ายขึ้นอย่างสร้างสรรค์ ซึ่ง MSMEs ยังสามารถใช้ระบบดิจิทัลในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่ของจำนวนทราฟฟิคในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงข้อมูลการประมาณการความต้องการของผู้บริโภค และการวิเคราะห์ที่สำคัญอื่น ๆ อย่างง่ายดาย ที่จะช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้ดีขึ้นเพื่อธุรกิจของตนเอง”
อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า มีความแตกต่างที่มีเห็นได้ชัดระหว่างองค์กรขนาดเล็กและองค์กรขนาดใหญ่ในการนำกลยุทธ์ดิจิทัลมาใช้ ซึ่งพบว่า องค์กรขนาดเล็กมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ซับซ้อนน้อยกว่าและมีแนวโน้มว่าจะปรับเพียงงานแอดมินและฟังก์ชันทางมาร์เก็ตติ้งให้เป็นดิจิทัลเท่านั้น โดยไม่ได้แตะด้านการวางแผนทรัพยากรขององค์กร การจัดการลูกค้าสัมพันธ์และบิ๊กดาต้าแม้แต่น้อย
รายงานวิจัยฉบับนี้ริเริ่มและร่างขึ้นโดยศาสตราจารย์ หลี กั่น นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Texas A&M และทีมวิจัยทางวิชาการของเขา โดยอิงจากการสำรวจเชิงปริมาณในกลุ่ม MSMEs ที่นำโดย Alibaba.com และ AliResearch รวมไปถึงการศึกษาจากแหล่งข้อมูลสาธารณะและแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง รายงานดังกล่าวมีเวอร์ชันภาษาที่หลากหลาย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่
นอกจากนี้ ยังสามารถรับชมเว็บบินาร์เกี่ยวกับ Whitepaper และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในเชิงลึกที่ Alibaba.com และ International Trade Center of the United Nations (ITC) เป็นผู้จัดร่วมกัน ได้ ที่นี่