สกว.ระดมสมองจัดการขยะแผงโซลาร์เซลล์

สกว. เปิดเวทีระดมสมองนักวิชาการ ภาครัฐ และผู้ประกอบการ ถกประเด็นการจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดความคุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้า เพื่อเป็นข้อมูลวางแผนบริหารจัดการของประเทศและเสนอแนะทางเลือกที่เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรีไซเคิลป้อนกลับให้กับอุตสาหกรรม

20160718_pr012

วันนี้ (28 กรกฎาคม 2559) รศ.ดร.ศุภชาติ จงไพบูลย์พัฒนา ผู้ประสานงานโครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สกว. เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น “การจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดความคุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้า” เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งนักวิชาการ นักวิจัย และผู้ประกอบการในการบริหารจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดความคุ้มค่าเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนของประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีได้เคยแสดงความห่วงใยเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในอนาคต รวมถึงเสนอแนะทางเลือกที่เหมาะสม โดยพิจารณาประเด็นด้านการบริหารจัดการ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ประเทศไทยส่งเสริมการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนรวมถึง6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2579 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างเทคโนโลยีและการสร้างงานให้คนในประเทศ แต่ในอนาคตคาดว่าจะเกิดของเสียที่มีปริมาณสูงถึง 6 แสนตันภายหลังหมดอายุการใช้งาน ซึ่งองค์ประกอบของแผงจำพวกโลหะหนักจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมสร้างคนและองค์ความรู้เพื่อการจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดอายุอย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์แก่ประเทศ

20160718_pr01-pichya

ผศ. ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ หัวหน้าโครงการ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวทางการบริหารจัดการแผงหมดอายุ: บทบาทของรัฐ ผู้ผลิตแผง และเจ้าของแผง โดยเปรียบเทียบกับแนวทางของประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่นเป็นสำคัญ เนื่องจากมีปริมาณ กฎหมาย และความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมสูงมาก สิ่งที่น่าสนใจคือในปัจจุบันทั่วโลกมีอัตราส่วนของของเสียแผงต่อแผงที่ติดตั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.1 ในส่วนของประเทศไทยมีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์จนถึงขณะนี้แล้ว15 ล้านแผง หรือประมาณ 2-4 แสนตัน จึงต้องพิจารณาว่าจะบริหารจัดการอย่างไร เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้แหล่งทรัพยากรจากขยะแผง และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ โดยทั้งนี้การรีไซเคิลจะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่ม และจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีการแยกขยะประเภทนี้โดยเฉพาะ ทำให้เกิดการลงทุนในระดับมหภาคลงมาจนถึงการพัฒนาฝีมือแรงงานระดับล่าง

20160718_pr01

สำหรับลำดับขั้นในการบริหารจัดการแผงหมดอายุ เริ่มตั้งแต่การผลิต การขนส่งและติดตั้ง การใช้งาน การเก็บรวบรวม การรีไซเคิล และการกำจัด จึงมีความเกี่ยวข้องกับภาคส่วนต่าง ๆ จำนวนมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจำเป็นต้องมีข้อหารือร่วมกัน อาทิ ปริมาณของเสียในปัจจุบันและการจัดการของเจ้าของแผง ผู้รวบรวมควรจะเป็นใครระหว่างผู้ผลิต ผู้ขาย หรือร้านขายของเก่า ผู้รีไซเคิลสามารถใช้หรือสกัดได้เองในประเทศ หรือส่งออกได้หรือไม่ และภาครัฐจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการรีไซเคิลสูงสุด

การพิจารณาหาสถานที่ที่เหมาะสมนั้น ผศ. ดร.พิชญมีคำถามว่าจะตั้งอยู่ใกล้โรงงานคัดแยก ทั้งส่วนที่แยกง่ายเพื่อสร้างมูลค่าต่อไป เช่น ซิลิกอน พลาสติก กับส่วนที่แยกยาก เป็นโลหะมีค่า เช่น เงิน ดีบุก เจอมาเนียม และจะตั้งอยู่ในจุดเดียวกับการเก็บรวบรวมหรือไม่ เมื่อพิจารณาโอกาสทางธุรกิจคาดว่าในปี 2030 จะมีใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลกถึง 1,600 กิกะวัตต์ และเมื่อแผงหมดสภาพจะมีวัสดุที่สร้างมูลค่าได้ถึง 450 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงมีข้อพิจารณาว่าภาครัฐควรสนับสนุนเรื่องการสร้างธุรกิจหรือไม่ และจะมีอุตสาหกรรมปลายน้ำรองรับหรือไม่

20160718_pr01-somchi

รศ. ดร.สมชัย รัตนธรรมพันธ์กล่าวว่า ปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งคาร์บอนไดออกไซด์และไดออกซินจากการเผา การสูญเสียพลังงานและงบประมาณ การแพร่กระจายของโลหะหนักจากการฝังดิน ตะกั่วและแคดเมียมในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติ จนอาจเกิดวิกฤตสูญเสียแหล่งน้ำและอาหารในอนาคตกรณีศึกษาจากประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นพบว่าให้ความสำคัญกับการกำจัดของเสียเหล่านี้และออกกฎหมายควบคุมดูแลอย่างชัดเจนเพื่อลดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพิ่มคุณภาพให้วัสดุเหลือทิ้งและป้อนกลับสู่อุตสาหกรรมอีกครั้ง ทำให้วัตถุดิบมีราคาที่เสถียรภาพ

20160718_pr01-2

ด้าน ดร.สันต์ สัมปัตตะวนิช เปิดเผยว่า ขยะแผงเซลล์แสงอาทิตย์เกิดได้ตั้งแต่การติดตั้งระหว่างการใช้งานทั้งในครัวเรือน โรงไฟฟ้า และแผงที่เสื่อมสภาพ เมื่อแผงหมดอายุการใช้งาน ขยะจากอุตสาหกรรมและครัวเรือนจะมีการนำไปที่จุดรวบรวมเฉพาะเพื่อคัดแยก รีไซเคิลและทำลายต่อไปซึ่งการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแบบง่าย ๆ ราคาไม่สูงมากนัก โดยคัดแยกขยะแล้วนำไปย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก่อนเข้าตามกระบวนการตามกฎหมาย แต่การจัดการที่มีคุณภาพจะมีกระบวนการที่ทำให้องค์ประกอบของวัสดุแยกออกจากกันโดยที่เกิดความเสียหายน้อยที่สุดเพื่อนำไปรีไซเคิล ซึ่งต้องใช้เงินทุนและเทคโนโลยีมากขึ้น

 20160718_pr011

 “ปัญหาคือใครควรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดการแผงที่หมดสภาพ วิธีการใดที่เหมาะสมกับกระบวนการดูแลในประเทศไทย กฎหมายและการบังคับใช้ รวมถึงกระบวนการจัดการแผงที่หมดสภาพจากครัวเรือน จุดแยกหรือเก็บรวบรวมควรอยู่ใกล้โรงงานหรือไม่ เหล่านี้ประเด็นที่จะต้องถกเถียงกันเพื่อหาข้อสรุปต่อไป”

Related Posts

กระทรวงพลังงาน – กฟผ. จัดใหญ่อีกครั้ง LED Expo Thailand & Smart Living Expo 2024 ที่สุดของมหกรรมเทคโนโลยีแสงสว่างอัจฉริยะแห่งภูมิภาคอาเซียน

กฟผ. โชว์เทคโนโลยี LED เบอร์ 5…

ซีเค พาวเวอร์ (ซีเคพี) ร่วมกับ มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ภายใต้โครงการ “ส่งต่อพลังคิด(ส์) เพื่อโลกที่ยั่งยืน” ถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนสู่เยาวชนไทย

บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มห…

You Missed

กระทรวงพลังงาน – กฟผ. จัดใหญ่อีกครั้ง LED Expo Thailand & Smart Living Expo 2024 ที่สุดของมหกรรมเทคโนโลยีแสงสว่างอัจฉริยะแห่งภูมิภาคอาเซียน

  • By Web Master
  • กันยายน 6, 2024
  • 60 views
กระทรวงพลังงาน – กฟผ. จัดใหญ่อีกครั้ง LED Expo Thailand & Smart Living Expo 2024 ที่สุดของมหกรรมเทคโนโลยีแสงสว่างอัจฉริยะแห่งภูมิภาคอาเซียน

ซีเค พาวเวอร์ (ซีเคพี) ร่วมกับ มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ภายใต้โครงการ “ส่งต่อพลังคิด(ส์) เพื่อโลกที่ยั่งยืน” ถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนสู่เยาวชนไทย

  • By Web Master
  • กันยายน 6, 2024
  • 51 views
ซีเค พาวเวอร์ (ซีเคพี) ร่วมกับ มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ภายใต้โครงการ “ส่งต่อพลังคิด(ส์) เพื่อโลกที่ยั่งยืน” ถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนสู่เยาวชนไทย

เชลล์ส่งต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนนสร้างสรรค์สื่อการสอน ปลูกฝังเยาวชนไทย

  • By Web Master
  • กันยายน 6, 2024
  • 47 views
เชลล์ส่งต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนนสร้างสรรค์สื่อการสอน ปลูกฝังเยาวชนไทย

“ยัวซ่าแบตเตอรี่” ยกทัพใหญ่บุกภาคตะวันออก จัดอบรมผู้แทนจำหน่าย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2024

  • By Web Master
  • กันยายน 6, 2024
  • 43 views
“ยัวซ่าแบตเตอรี่” ยกทัพใหญ่บุกภาคตะวันออก จัดอบรมผู้แทนจำหน่าย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2024

ถุงยังชีพ กฟผ. ถึงมือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยชาวเหนือแล้วกว่า 6,000 ชุด

  • By Web Master
  • กันยายน 6, 2024
  • 51 views
ถุงยังชีพ กฟผ. ถึงมือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยชาวเหนือแล้วกว่า 6,000 ชุด

ก้าวต่อเพื่อความยั่งยืน กฟผ. ผนึกพันธมิตรพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำต้นทุนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น​

  • By News
  • กรกฎาคม 16, 2024
  • 213 views
ก้าวต่อเพื่อความยั่งยืน กฟผ. ผนึกพันธมิตรพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำต้นทุนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น​